7 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการทำโรงงานผลิตอาหาร มาตรฐาน GMP

โรงงานผลิตอาหาร มาตรฐาน GMP

7 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการทำโรงงานผลิตอาหาร มาตรฐาน GMP

ผู้ประกอบการโรงงานอาหารมีกฎ ระเบียบ และมาตรฐานหลายอย่างที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อรังสรรค์ผลผลิตคุณภาพส่งออกไปถึงมือผู้บริโภค ซึ่งตามกฎหมายแล้วผู้บริโภคนั้นได้รับความคุ้มครองขั้นพื้นฐานโดยผู้บริโภคต้องได้รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ไม่มีสิ่งเจือปน หรือไม่มีสารพิษที่เป็นอันตราย ภายใต้การควบคุมมาตรฐาน GMP ซึ่งเป็นเครื่องการันตีว่าอาหารของโรงงานนั้นมีคุณภาพ ปลอดภัย และเหมาะสำหรับการจำหน่ายไปสู่ผู้บริโภค

สำหรับโรงงานผลิตอาหาร สิ่งสำคัญที่ควรรู้คือการผลิตอาหารที่ได้คุณภาพ ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน GMP ซึ่งบทความของเราวันนี้แอดมินได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ GMP มานำเสนอ เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ประกอบการโรงงานอาหารนำไปปรับใช้กับโรงงานของท่านต่อไปค่ะ

1. GMP คืออะไร?

ก่อนอื่นขอแนะนำถึงความหมายของ GMP กันก่อนนะคะ มาตรฐาน GMP ย่อมาจาก Good Manufacturing Practice หมายถึง มาตรฐานในการผลิตอาหาร ซึ่งเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำเพื่อควบคุมการผลิตอาหารด้วยข้อกำหนดต่าง ๆ ให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตาม เพื่อให้ได้อาหารที่มีมาตรฐานเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย

มาตรการ GMP จะช่วยป้องกันความเสี่ยงที่เกิดกับกระบวนการผลิตอาหาร ทั้งเรื่องของสิ่งเจือปน อาหารเป็นพิษ และความไม่ปลอดภัยที่อาจทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตราย

GMP คือมาตรฐานที่ได้รับการรับรองจากทั่วโลก

มาตรฐาน GMP มีความน่าเชื่อถือสูงมากเพราะได้รับการรับรองจากทั่วโลกแล้วว่ามีมาตรฐานที่ดีในเรื่องการควบคุมกระบวนการผลิตอาหาร มีการพิสูจน์จากกลุ่มนักวิชาการด้านอาหารทั่วโลกว่า GMP ทำให้อาหารจากกระบวนการผลิตมีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเป็นการรับรองว่าถ้าหากผู้ผลิตอาหารปฏิบัติตามข้อกำหนดของ GMP ทุกอย่าง จะทำให้สามารถผลิตอาหารที่ถูกต้องตามหลักสุขอนามัยและมีความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค จะถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานสากล

โรงงานผลิตอาหาร มาตรฐาน GMP

2. GMP ควบคุมอะไรบ้าง?

GMP ควบคุมทั้งส่วนของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร ไปจนถึงกระบวนการผลิตที่ต้องสะอาด ปลอดภัย ในส่วนของกระบวนการผลิตยังมีรายละเอียดที่ GMP ควบคุมอย่างเข้มงวดอีกนะคะ ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การคัดสรรและควบคุมวัตถุดิบ การควบคุมคุณภาพ การจัดเก็บ ไปจนถึงผลผลิตที่สำเร็จรูปแล้ว นอกจากนี้ GMP ยังควบคุมการจัดส่งของผู้ประกอบการด้วย โดยทางโรงงานจะต้องมีการบันทึกข้อมูลและการตรวจสอบติดตามคุณภาพของผลิตภัณฑ์

มาตรฐาน GMP เป็นการรับรองขั้นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การรับรองมาตรฐานลำดับต่อไปที่สูงกว่า เช่น ISO 9000 และ HACCP (Hazards Analysis and Critical Points) เป็นต้น

3. GMP มีกี่ประเภท?

มาตรฐาน GMP แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • GMP สุขลักษณะทั่วไป (General GMP) สำหรับอาหารทุกประเภท
  • GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ (Specific GMP) สำหรับเน้นเรื่องความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารโดยเฉพาะ

4. GMP สุขลักษณะทั่วไป (General GMP)

เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้สำหรับอาหารทุกประเภท มีทั้งหมด 6 ข้อกําหนดด้วยกัน ได้แก่

  1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
  2. เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต
  3. การควบคุมกระบวนการผลิต
  4. การสุขาภิบาล
  5. การบํารุงรักษาและการทําความสะอาด
  6. บุคลากรและสุขลักษณะ

โรงงานผลิตอาหาร มาตรฐาน GMP

5. ข้อกำหนดของ General GMP

ด้านสถานประกอบการ- ต้องสะอาดและตั้งอยู่ในที่ที่ห่างไกลจากสิ่งที่ทำให้อาหารปนเปื้อนได้ง่าย สถานประกอบการที่ใช้ดำเนินกระบวนการผลิตต้องมีขนาดเหมาะสม ออกแบบและก่อสร้างให้รองรับกับการซ่อมบำรุงและการรักษาความสะอาด สะดวกต่อการปฏิบัติงาน ส่วนพื้นที่ภายในโรงผลิตจะต้องแยกบริเวณผลิตอาหารออกเป็นสัดส่วน ทั้งยังต้องระบายอากาศได้อย่างเหมาะสม

ด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์- ต้องทำจากวัสดุที่ปลอดภัยไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร ไม่เป็นสนิม ไม่เป็นพิษ แข็งแรงและมีการทำความสะอาดอย่างเหมาะสม ผ่านการฆ่าเชื้อก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิต นอกจากนี้ต้องแยกเก็บเป็นสัดส่วน และมีการป้องกันฝุ่นละอองรวมถึงสิ่งสกปรกด้วย

ด้านกระบวนการผลิต- มีการควบคุมตามหลักสุขาภิบาลทุกขั้นตอนอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ ส่วนผสม ภาชนะ การผลิต การเก็บรักษา การขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหาร

ด้านการสุขาภิบาล– ต้องควบคุมสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขาภิบาลเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน เช่น อ่างล้างมือ ห้องน้ำ ระบบกำจัดขยะมูลฝอย การระบายน้ำทิ้ง การป้องกันสัตว์และแมลง เป็นต้น

ด้านการบำรุงรักษาและการทำความสะอาด- เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างถูกต้องด้านความสะอาดและเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกรวมถึงสารอันตรายปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์อาหาร ทางโรงงานจะต้องมีการทำความสะอาด ดูแลและเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร รวมถึงอุปกรณ์สำหรับผลิตให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังการผลิต

ด้านบุคลากร- ต้องสวมเครื่องแต่งกายที่สะอาดและเหมาะต่อการปฏิบัติงาน ต้องมีสุขภาพดี ไม่เป็นวัณโรคในระยะอันตราย และไม่เป็นโรคผิวหนังที่น่ารังเกียจหรือโรคเรื้อน

6. GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ (Specific GMP)

เป็นหลักเกณฑ์ที่เพิ่มเติมจาก GMP ทั่วไป เน้นในเรื่องความเสี่ยงและความปลอดภัยของแต่ละผลิตภัณฑ์อาหารโดยเฉพาะ เช่น ข้อกําหนด GMP สำหรับน้ำบริโภค หรือข้อกําหนด GMP สำหรับนมพร้อมบริโภคชนิดเหลวที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อด้วยความร้อนโดยวิธีพาสเจอร์ไรส์ เป็นต้น

สำหรับ GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์จะมีการควบคุมการผลิตของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่แตกต่างกันออกไปตามรายละเอียดของผลิตภัณฑ์อาหารนั้น ๆ โดยเฉพาะค่ะ

7. การบังคับใช้ GMP

สำนักงานคณะกรรมอาหารและยาของไทยนำเอาหลักเกณฑ์มาตรฐาน GMP มาบังคับใช้เป็นกฎหมาย โดยกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ. 2543 ผู้ประกอบการอาหารจึงต้องศึกษาข้อกำหนดโดยละเอียดเพื่อการผลิตที่ได้มาตรฐาน นำมาซึ่งอาหารคุณภาพที่อยู่บนพื้นฐานข้อบังคับทางกฎหมาย ซึ่งมาตรฐาน GMP ครอบคลุมเนื้อหาในเรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษา มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2544

พาชมวีดิโอหลักเกณฑ์และวิธีที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP สุขลักษณะทั่วไป) วีดิโอให้คำแนะนำและความรู้ดีๆจาก อย. ค่ะ

เป็นอย่างไรบ้างคะกับรายละเอียดน่ารู้เกี่ยวกับมาตรฐาน GMP ที่แอดมินนำมาฝากผู้ประกอบการโรงงานผลิตอาหารทุกท่าน ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องของหลักเกณฑ์การผลิตอาหารตามข้อกำหนดของ GMP ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล หากผู้ประกอบการสามารถผลิตอาหารได้ตามข้อกำหนด จะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่สะอาดและปลอดภัย ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลดีต่อโรงงานผลิตอาหารของเราอย่างยั่งยืนค่ะ

 

สำหรับท่านที่กำลังมองหาโรงงานผลิตอาหารให้เช่า หรือ โรงงาน GMP ให้เช่า สามารถอ่านวิธีการเลือกโรงงานผลิตอาหารให้เช่าเพิ่มเติมได้ที่บทความของเราค่ะ

3 ปัจจัยและวิธีการเลือกโรงงานผลิตอาหารให้เช่า หรือ โรงงาน GMP ให้เช่า คลิก !


นอกจากมาตรฐาน GMP แล้ว อีกหนึ่งมาตรฐานในการผลิตอาคารที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือมาตรฐาน HACCP สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐาน GMP และมาตรฐาน HACCP ในบทความของเราตามด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

7 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการทำโรงงานผลิตมาตรฐาน HACCP คลิก !

มาตรฐาน GMP และ มาตรฐาน HACCP ในโรงงานมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร คลิก !

 

หากสนใจเช่าโรงงาน คุณภาพสูงเหมาะกับการผลิตอาหารมาตรฐาน GMP ฟังก์ชั่นครบครัน ใส่ใจทุกรายละเอียด โลเคชั่นดีเยี่ยม บริการซ่อมแซมด่วนฟรีตลอดสัญญาเช่า พร้อมบริการพิเศษดีๆแบบครบวงจร อีกทั้งตั้งอยู่ในโครงการความปลอดภัยสูง รปภ. ดูแล 24 ชั่วโมง ระบบ CCTV รอบโครงการ ติดต่อเราได้นะคะ  ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ค่ะ

 

โรงงานให้เช่า

 

  คลังสินค้าให้เช่า โกดังให้เช่า

 

พาชมตัวอย่างโครงการโรงงานให้เช่าของเราค่ะ วีดีโอโครงการ PRO IND Factory Park 2 โครงการให้เช่าโรงงานและให้เช่าโกดังคลังสินค้า พร้อมออฟฟิศ คุณภาพสูง เชิญชมได้เลยค่ะ 

 

 

 

Sources:

https://youtu.be/SGLZP5LifG8

https://www.chi.co.th/article/article-1212/

https://en.proindsolutions.com/17470879/6-things-to-know-about-establishing-a-gmp-food-factory-in-thailand

Images from:

https://pixabay.com/

https://www.freepik.com/

 

Visitors: 275,701