การทำงานแบบ Kaizen ในโรงงาน คืออะไร?

Kaizen ในโรงงาน

การทำงานแบบ Kaizen ในโรงงาน คืออะไร?

การแข่งขันที่สูงขึ้นทุกวันในโลกของการทำธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการหลายท่านต้องมองหาแนวทางการลดต้นทุนแต่ยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพการทำงาน ไปจนถึงการพัฒนาทั้งบุคลากรและวิธีการทำงานในโรงงานเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันได้ ระบบการทำงานแบบ Kaizen จึงเข้ามามีบทบาทและมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับผู้ประกอบการไทย

แต่ Kaizen คืออะไร เราจะนำเอาแนวคิดนี้มาสร้างทำงานแบบ Kaizen ภายในโรงงานได้อย่างไร วันนี้แอดมินมีคำตอบมาฝากค่ะ

แนวคิดทำงานแบบ Kaizen คืออะไร?

ไคเซน (Kaizen) เป็นแนวคิดในการพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในองค์กร มาจากภาษาญี่ปุ่นคือ

Kai แปลว่า การเปลี่ยนแปลง (Change) และ Zen แปลว่า ดี (Good)

เพราะฉะนั้นไคเซนจึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี การปรับปรุงและการพัฒนานั่นเอง ซึ่งหลักการสร้างโรงงาน Kaizen ก็คือการทำงานให้น้อยลงแต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมุ่งเน้นลดขั้นตอนการทำงานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานให้สูงขึ้น

Kaizen ในโรงงาน

การปรับปรุงเพื่อก้าวสู่การเป็นโรงงาน Kaizen

การนำแนวคิด Kaizen มาใช้ในการทำงานภายในโรงงานคือการมุ่งเน้นไปที่การรักษาสภาพและปรับปรุงไปทีละเล็กละน้อย ผสมผสานกับการนำนวัตกรรมหรือ Innovation เข้ามาใช้งาน โดยใช้หลักทำงานแบบ Kaizen ดังนี้

1. ความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์เป็นประโยชน์มากสำหรับการแก้ไขปัญหา บางครั้งหากว่าเราแก้ไขปัญหาโดยใช้หลักเหตุผลธรรมดาซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาแบบตรงๆ แล้วหนทางแก้ไขอาจจะมีราคาแพงไม่คุ้มค่าและอาจจะไม่ได้ผลก็เป็นได้

2. ใช้หลักเลิก ลด เปลี่ยน

การเลิก หมายถึง การพิจารณาเพื่อตัดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อลดขั้นตอนการทำงานที่สิ้นเปลืองเวลา กำลังคน และวัตถุดิบ

การลด หมายถึง การลดขั้นตอนการทำงานหรือการกระทำที่ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำ ๆ โดยใช่เหตุ เช่นการที่พนักงานต้องมาสอบถามขั้นตอนการเสียภาษาทุกครั้งเมื่อใกล้สิ้นปี อาจใช้วิธีการปริ้นขั้นตอนที่ถูกต้อง เข้าใจง่าย และนำมาแปะประกาศให้พนักงานทุกคนได้รับรู้อย่างทั่วถึง ก็เป็นวิธีที่ช่วยลดการถามคำถามเดิมซ้ำ ๆ ได้ดี

การเปลี่ยน หมายถึง หลังจากพิจารณาแล้วว่าไม่สามารถเลิกหรือลดกระบวนการใดได้ อาจลองใช้วิธีเปลี่ยนแนวทาง เปลี่ยนกระบวนการ หรือเปลี่ยนทิศทางการดำเนินการใหม่ไปเลย

เคล็ดลับการนำ Kaizen มาใช้ในองค์กรให้ประสบผลสำเร็จ

1. ผู้นำหรือผู้บริหารต้องประกาศแนวทางการทำงานแบบ Kaizen ในโรงงานให้ชัดเจน รวมถึงบอกวัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความรู้สึกว่าเป้าหมายนั้นเป็นของพนักงานทุกคน ไม่ใช่แค่เป้าหมายขององค์กรเพียงอย่างเดียว

2. ผู้นำควรจัดให้มีพื้นที่สำหรับให้พนักงานได้แสดงออกทางความคิดหรือมีส่วนร่วมในกระบวนการไคเซน เช่น ผู้ที่ทำตามแนวทางไคเซนได้ดีเด่นที่สุดในสัปดาห์นั้น ๆ หรือให้พนักงานสามารถเสนอแนวทางการปรับปรุงกระบวนการทำงานได้

3. มีการให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา

4. มีการติดตามผลการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุง

 

พาชมตัวอย่างโรงงานที่นำระบบ Kaizen มาปรับใช้ในการทำงานจนประสบความสำเร็จ ตามไปชมได้เลยค่ะ

การทำงานแบบ Kaizen ในโรงงานจะช่วยพัฒนาทั้งบุคลากรและการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ นอกจากนี้แนวคิด Kaizen ยังเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ทำให้ผู้ประกอบการไปถึงเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่ตั้งใจไว้ด้วย

 

นอกจากระบบ Kaizen แล้วยังมีระบบการทำงานอื่นๆที่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติร่วมกันเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานและช่วยลดต้นทุนในการผลิตให้ดียิ่งขึ้น เช่น ระบบลีน (LEAN), 6 ส เป็นต้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความของเราตามด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

ระบบลีน (LEAN) กำจัด 7 waste ในการผลิตเพื่อลดต้นทุนและเพื่อกำไรที่มากขึ้นของผู้ประกอบการโรงงาน

 

6 ส เพื่อการเพิ่มผลผลิตสำหรับโรงงานและคลังสินค้า คลิ๊ก!

 

5 วิธีประหยัดพลังงานในโรงงานและโกดังคลังสินค้า เพื่อผลกำไรที่มากขึ้น คลิ๊ก!

 

 

หากสนใจเช่าโรงงาน คุณภาพสูงฟังก์ชั่นครบครัน ใส่ใจทุกรายละเอียด โลเคชั่นดีเยี่ยม บริการซ่อมแซมด่วนฟรีตลอดสัญญาเช่า พร้อมบริการพิเศษดีๆแบบครบวงจร อีกทั้งตั้งอยู่ในโครงการความปลอดภัยสูง รปภ. ดูแล 24 ชั่วโมง ระบบ CCTV รอบโครงการ ติดต่อเราได้นะคะ  ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ค่ะ

โรงงานให้เช่า

  คลังสินค้าให้เช่า โกดังให้เช่า

พาชมตัวอย่างโครงการโรงงานให้เช่าของเราค่ะ วีดีโอโครงการ PRO IND Factory Park 2 โครงการให้เช่าโรงงานและให้เช่าโกดังคลังสินค้า พร้อมออฟฟิศ คุณภาพสูง เชิญชมได้เลยค่ะ 

 

Sources:

https://youtu.be/bt1rDSKFCNE

https://www.stou.ac.th/study/sumrit/5-58(500)/page5-5-58(500).html

Images from:

https://pixabay.com/

https://www.freepik.com/

Visitors: 263,180