4 ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการเช่าโรงงานและเช่าโกดังคลังสินค้า

4 ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการเช่าโรงงานและเช่าโกดังคลังสินค้า

4 ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการเช่าโรงงานและเช่าโกดังคลังสินค้า

ปัจจุบันผู้ประกอบการและนักธุรกิจหลายท่านหันมาเลือกใช้การเช่าโรงงานและโกดังคลังสินค้าเป็นหลักเนื่องจากมีข้อดีหลายอย่างที่ทำให้การทำธุรกิจยืดหยุ่นกว่า ซึ่งค่าเช่าโรงงานและเช่าโกดังคลังสินค้านั้นก็ถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ แต่ถึงอย่างไรก็มีภาษีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเช่าโรงงานและเช่าโกดังคลังสินค้าตามมาด้วยค่ะ

เพราะฉะนั้นเราไปดูกันดีกว่าว่ามีภาษีตัวใหนบ้างที่เกี่ยวข้องกับการเช่าโรงงานและเช่าโกดังคลังสินค้า ภาษีแต่ละประเภทที่เกี่ยวข้องมีอัตราเท่าไหร่ รวมถึงมีวิธีคิดภาษีอย่างไรบ้าง ตามไปอ่านกันเลยค่ะ

ก่อนอื่นเรามาดูตัวอย่างข้อดีของการเช่าโรงงานและเช่าโกดังคลังสินค้า ว่ามีข้อดีเหนือกว่าการเป็นเจ้าของอาคารโกดัง คลังสินค้าเองอย่างไรบ้างค่ะ

การเช่าโรงงานและเช่าโกดังคลังสินค้า มีข้อดีอย่างไร

ภาษีเช่าโรงงาน เช่าโกดัง เช่าคลังสินค้า

1. ใช้ต้นทุนต่ำกว่า (Available Capital)

การเช่าโรงงานหรือโกดังคลังสินค้านั้นมีข้อดีที่สำคัญเป็นอันดับแรกเลยก็คือเรื่องของความประหยัด เพราะเมื่อเทียบต้นทุนค่าเช่าและการก่อสร้างโรงงานหรือโกดังคลังสินค้าขึ้นใหม่แล้ว การเช่าย่อมทีต้นทุนถูกกว่า ทำให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่อุ่นใจและหมดกังวลเรื่องเงินทุนหมุนเวียนที่ต้องใช้ในการเริ่มต้นธุรกิจหรืองบประมาณที่ต้องการนำไปต่อยอดธุรกิจด้านอื่น ๆ

2. โยกย้ายได้ง่ายและรวดเร็ว (Faster and Easier to Move)

หากวันหนึ่งท่านมีความจำเป็นต้องขยับขยายธุรกิจที่เติบโตขึ้น การเช่าโรงงานหรือเช่าโกดังคลังสินค้านั้นสามารถทำให้ผู้ประกอบการตอบสนองความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดีกว่า ยืดหยุ่นกว่า ไม่ว่าจะเป็นการย้ายสถานที่ตั้งหรือการขยายโรงงานและคลังสินค้าก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องกังวลเรื่องงบประมาณที่อาจบานปลายจากการขยายโรงงานหรือโกดังคลังสินค้า อีกทั้งยังไม่ต้องเสียดายงบประมาณในการลงทุนก่อสร้างอีกด้วย

3. ประหยัดค่าซ่อมบำรุง (No Repairs and Maintenance Costs)

เมื่อเกิดเหตุอาคารและระบบของโรงงาน โกดังหรือคลังสินค้าชำรุดเสียหาย ผู้ประกอบการก็ไม่จำเป็นต้องหนักใจเรื่องดำเนินการซ่อมบำรุงและไม่ต้องดึงเงินในบัญชีมาใช้เป็นค่าซ่อมแซมหรือค่าบำรุงรักษา อีกทั้งยังไม่ต้องเสียเวลามองหาช่างหรือเครื่องมือเพื่อมาซ่อมแซมอาคารหรือระบบที่เสียหาย แต่อย่างไรก็ตามการซ่อมบำรุงอาคารสถานที่นั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในสัญญาเช่าด้วยนะคะ ดังนั้นอย่าลืมอ่านสัญญาเช่าตรงจุดนี้ให้ละเอียดเพื่อประโยชน์สูงสุดของท่านเองด้วยค่ะ

4. ใช้เวลาน้อยกว่าในการเริ่มต้นธุรกิจ (Less Start-Up Time)

อย่างที่เรารู้กันดีว่าการก่อสร้างโรงงาน หรือโกดังและคลังสินค้านั้นเป็นการก่อสร้างที่ใช้ระยะเวลานานและใช้งบประมาณสูงมาก แต่การเช่าโรงงานหรือโกดังคลังสินค้านั้นช่วยให้ท่านระหยัดเวลามากกว่าและยังสะดวกสบายกว่าเพราะทุกอย่างได้ก่อสร้างพร้อมไว้หมดแล้ว ผู้ประกอบการสามารถเริ่มประกอบธุรกิจหรือขยายธุรกิจได้อย่างทันทีโดยไม่ต้องรอ ทำให้ไม่พลาดโอกาสสำคัญทางธุรกิจ เพราะบางครั้งในโลกของการแข่งขัน เวลาหรือโอกาสก็ไม่รอเรานะคะ

อ่านข้อดีโดยละเอียดของการเช่าโรงงานและเช่าโกดังคลังสินค้าได้ที่ บทความ 8 ข้อดีของการเช่าโรงงานหรือเช่าโกดังคลังสินค้า คลิก!

 

4 ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการเช่าโรงงานและเช่าโกดังคลังสินค้า

เช่าโรงงานและเช่าโกดังคลังสินค้า ภาษี

1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่บริษัทหรือผู้ประกอบการที่เช่าโรงงานหรือเช่าโกดังคลังสินค้าต้องต้องดำเนินการ หัก ณ ที่จ่าย และทำหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงิน (หรือผู้ให้เช่า) ทุกครั้ง ในอัตราร้อยละ 5 ของค่าเช่าที่มีการจ่ายเงินและนำส่งภาษีภายใน 7 วันของเดือนถัดไป แต่หากเป็นค่าบริการ เช่น ค่าส่วนกลาง ค่าบำรุงรักษาทรัพย์ที่เช่า จะต้องหักภาษีในอัตราร้อยละ 3 ซึ่งเป็นคนละอัตรากับค่าเช่าค่ะ

ตัวอย่างเช่น 

ค่าเช่า

ตัวอย่างที่ 1:  บริษัท A เช่าโรงงานเพื่อใช้ในกิจการ เดือนละ 100,000 บาท
ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย 100,000 x 5% = 5000 บาท นำภาษีส่งกรมสรรพากรและออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ให้เช่า

ดังนั้นค่าเช่าที่ต้องจ่ายผู้ให้เช่า สุทธิ 100,000 บาท – 5,000 บาท เป็นเงิน 95,000 บาท

ค่าบริการ

แต่หากมีค่าบริการด้วย ค่าบริการนั้น จะต้องหักภาษีในอัตราร้อยละ 3 ซึ่งเป็นคนละอัตรากับค่าเช่าค่ะ และค่าบริการนั้น ต้องบวกภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ที่อัตราร้อยละ 7 ค่ะ

ตัวอย่างที่ 2:  เช่น บริษัท A เช่าโรงงานเพื่อใช้ในกิจการ โดยมีค่าเช่าโรงงาน เดือนละ 100,000 บาท และ ผู้ให้เช่าคิดค่าบริการดูแลส่วนกลางอีกเดือนละ 10,000 บาท  

ส่วนของค่าเช่าโรงงานนั้นจะคิดตามตัวอย่างที่ 1

ส่วนของค่าบริการ จะมีวิธีคิดดังนี้ค่ะ

ค่าบริการดูแลส่วนกลาง เดือนละ 10,000 บาท  
ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย 10,000 x 3% = 300 บาท นำภาษีส่งกรมสรรพากรและออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ให้เช่า

ต้องบวก ภาษี มูลค่าเพิ่ม 10,000 x 7% = 700 บาท 

ค่าบริการที่ต้องจ่ายผู้ให้เช่า สุทธิ 10,000 บาท – 300 บาท + 700 บวก เป็นเงิน 10,400 บาท

ดังนั้นค่าเช่าและค่าบริการ ที่ผู้เช่าจะต้องจ่ายให้ผู้ให้เช่าเป็นจำนวนเงินทั้งสุทธิ  95,000 บาท + 10,400 บาท เป็นเงิน 105,400 บาทค่ะ

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าเช่าโรงงาน และค่าเช่าโกดังคลังสินค้า จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมาคิดภาษีมูลค่าเพิ่มค่ะ แต่หากมีค่าบริการอื่นนอกเหนือจากค่าเช่า เช่น ค่าส่วนกลาง ค่าบริการบำรุงรักษาทรัพย์ที่เช่า หากผู้ให้เช่ามีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีแล้วล่ะก็ ค่าบริการนั้นต้องถูกนำมาคิดภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายค่ะ ซึ่งปัจจุบันมีอัตราอยู่ที่ร้อยละ 7 ค่ะ ส่วนวิธีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับค่าบริการจะเหมือนในตัวอย่างที่ 2 ตามด้านบนค่ะ

3. อากรแสตมป์

ในการทำสัญญาเช่าโรงงานและเช่าโกดังคลังสินค้า สัญญาเช่าต้องมีการติดอากรแสตมป์ถึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งค่าอากรแสตมป์นั้นจะอยู่ที่อัตราร้อยละ 0.1 ของค่าเช่าตลอดสัญญาเช่าค่ะ ส่วนฝ่ายใดจะเป็นผู้รับชอบภาษีส่วนนี้นั้น เป็นการตกลงระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่าค่ะ

ตัวอย่างเช่น บริษัท A ทำสัญญาเช่าโรงงานเพื่อใช้ในกิจการ เดือนละ 100,000 บาท โดยทำสัญญาเช่าเป็นระยะเวลา 3 ปี

ค่าเช่ารวมตลอดสัญญารวม 100,000 บาท x 12 เดือน x 3 ปี เป็นเงินค่าเช่าทั้งสิ้น 3,600,000 บาท

อากรแสตมป์นั้นจะอยู่ที่อัตราร้อยละ 0.1 ของค่าเช่าตลอดสัญญาเช่า คิดเป็น 3,600,000 บาท x ร้อยละ 0.1 คิดเป็นค่าอากรแสตมป์ทั้งสิ้น 3,600 บาท

 

หากท่านอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับการทำสัญญาเช่าโรงงานหรือเช่าโกดังคลังสินค้า สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ บทความ 8 ข้อควรรู้ก่อนทำสัญญาเช่าโรงงานหรือเช่าโกดังคลังสินค้า คลิ๊ก!

 

4. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีที่จะเริ่มใช้งานในปี 2563 นี้ โดยอัตราภาษี 2 ปีแรก (พ.ศ.2563-2564) จะเก็บภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นนอกจากการประกอบเกษตรกรรมและเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งรวมถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ด้านพาณิชยกรรม ห้าง ร้าน สำนักงาน โรงงาน โกดัง คลังสินค้า เป็นต้น ในอัตราดังนี้ ส่วนฝ่ายใดจะเป็นผู้รับชอบภาษีส่วนนี้นั้น เป็นการตกลงระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่าค่ะ

  • มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท      คิดอัตราภาษี 0.3%
  • มูลค่า 50-200 ล้านบาท          คิดอัตราภาษี 0.4%
  • มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท     คิดอัตราภาษี 0.5%
  • มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท  คิดอัตราภาษี 0.6%
  • มูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไปคิดอัตราภาษี 0.7%

เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการก็ต้องหาข้อมูลเตรียมพร้อมรับมือไว้ก่อน โดยศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก บทความภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คลิก! ของเราได้เลยค่ะ

5. เกร็ดอื่น ๆ เกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับการเช่าโรงงานและโกดังคลังสินค้า

ส่วนใหญ่แล้วกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มักจะมีการเรียกเก็บเงินประกันหรือเงินมัดจำ ซึ่งมักจะเข้าใจผิดและถือเป็นเงินได้ของผู้ให้เช่าและผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่กรมสรรพากรมีคำสั่งออกมาว่าผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและเงินมัดจำนี้ก็ไม่ถือเป็นเงินได้ของผู้ให้เช่าด้วยค่ะ

หากสนใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเช่าโรงงานหรือเช่าโกดังคลังสินค้าว่าต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ บทความ 8 ค่าใช้จ่ายหลักที่เกี่ยวข้องกับการเช่าโรงงานหรือเช่าโกดังคลังสินค้า คลิ๊ก!

 

พาชมวีดิโออธิบายภาษีที่เกี่ยวกับการเช่าและให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ จากกรมสรรพากร

 

 

การเช่าโรงงาน โกดังและคลังสินค้าเป็นตัวเลือกใหม่ที่สะดวกกว่าและมีข้อดีหลากหลายกว่าสำหรับผู้ประกอบการ แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมศึกษารายละเอียดภาษีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยนะคะ เพื่อให้เราสามารถดำเนินการจ่ายภาษีได้ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของกฎหมายค่ะ

 

หากสนใจโรงงานให้เช่า โกดังให้เช่าและคลังสินค้าให้เช่า คุณภาพสูงฟังก์ชั่นครบครัน ใส่ใจทุกรายละเอียด โลเคชั่นดีเยี่ยม บริการซ่อมแซมด่วนฟรีตลอดสัญญาเช่า พร้อมบริการพิเศษดีๆแบบครบวงจร อีกทั้งตั้งอยู่ในโครงการความปลอดภัยสูง รปภ. ดูแล 24 ชั่วโมง ระบบ CCTV รอบโครงการ ติดต่อเราได้นะคะ  ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ค่ะ

โรงงานให้เช่า

  คลังสินค้าให้เช่า โกดังให้เช่า

พาชมตัวอย่างโครงการโรงงานให้เช่าของเราค่ะ วีดีโอโครงการ PRO IND Factory Park 2 โครงการให้เช่าโรงงานและให้เช่าโกดังคลังสินค้า พร้อมออฟฟิศ คุณภาพสูง เชิญชมได้เลยค่ะ 

 

Sources:

https://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538702709&Ntype=134

https://youtu.be/MCMZl5518zE

Images from:

https://pixabay.com/

https://www.freepik.com/

Visitors: 277,986