7 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562

7 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

7 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562

 

หลังจากติดตามข่าวกันมาอย่างยาวนาน ในที่สุด ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็ประกาศใช้แล้วค่ะ โดยเริ่มจัดเก็บและมีผลบังคับใช้ปีหน้า คือวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องดำเนินการชำระภาษีครั้งแรกภายในเดือน เมษายน พ.ศ. 2563 ค่ะ

หลักการของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบบอธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือ ผู้เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือที่ภาษากฎหมายเรียกว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ จะมีหน้าที่เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยคิดจากราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น นำมาคูณด้วยอัตราภาษีที่กฎหมายกำหนดไว้

โดยความเป็นเจ้าของที่ว่าจะดูกันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมของทุกปี เช่น ถ้าวันที่  1 มกราคม 2563 มีชื่อคุณเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ก็หมายถึงคุณต้องทำหน้าที่เสียภาษีที่ดินและปลูกสร้างนั้น ๆ นั่นเองค่ะ

วันนี้แอดมินจึงได้สรุปสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้มาให้อ่านและเตรียมตัวกันค่ะกับ 7 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 หากท่านยังไม่ทราบว่าจะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหรือไม่ หรือต้องเสียเท่าไร และต้องเสียภาษีอย่างไร พบคำตอบได้ในบทความของเราค่ะ

1. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 เริ่มใช้เมื่อไร

  • เริ่มบังคับใช้ปีหน้าเลยค่ะ ในวันที่ 1 มกราคม 2563
  • โดยต้องเริ่มชำระภาษีครั้งแรก ภายในเดือน เมษายน 2563
  • เมื่อเริ่มใช้ภาษีฉบับนี้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ จะถูกยกเลิก
  • ฐานในการคำนวณภาษีคิดจากราคาประเมินของกรมธนารักษ์

ราคาประเมินของกรมธนารักษ์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสามารถดูได้จากลิงค์ด้านล่างค่ะ :http://property.treasury.go.th/pvmwebsite/

 

2. อัตราภาษีใน 2 ปีแรก คือปี พ.ศ. 2563 และ 2564

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ีดินและสิ่งปลูกสร้าง

 

อัตราภาษีใน 2 ปีแรก เป็นอัตราที่น้อยกว่าอัตราปกติค่ะ เพื่อเป็นการให้เวลาในการเตรียมตัวสำหรับใหม่ฉบับนี้ค่ะ

อัตราภาษีที่จะบังคับใช้กันใน 2 ปีแรกก็คือในปี 2563 และ 2564 สามารถดูได้จากตารางข้างบนเลยค่ะ โดยจะแบ่งตามประเภทหรือลักษณะการใช้งานของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ 

 

3. การยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

  • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อการเกษตรของบุคคลธรรมดา ได้รับการยกเว้นภาษีใน 3 ปีแรก และปีที่ 4 เป็นต้นไป ประเมินไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้ยกเว้นภาษี
  • ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยของบุคคลธรรมดาและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (บ้านหลังหลัก) ประเมินไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้ยกเว้นภาษี
  • สิ่งปลูกสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยของบุคคลธรรมดาและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน ประเมินไม่เกิน 10 ล้านบาท ได้ยกเว้นภาษี

*ข้อควรรู้* ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ที่จะได้รับการยกเว้นภาษี สำคัญที่จะต้องเป็นบ้านที่ เจ้าของต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังนี้ค่ะ เพราะฉะนั้นหากท่านมีบ้านหลายหลัง ชื่อของท่านควรอยู่ในทะเบียนบ้านหลังที่มีราคาประเมินสูงสุดค่ะ

 

4. อัตราภาษีใหม่หลังจาก 2 ปีแรก

อัตราการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามมูลค่าแบบขั้นบันไดดังที่เรากล่าวมาเป็นอัตราระหว่าง 2 ปีแรก (พ.ศ.2563-2564) ส่วนในปีต่อ ๆ ไปจะพิจารณาเก็บตามอัตราเพดานสูงสุดอีกครั้ง

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

 

 

5. ชำระภาษีที่ไหนและอย่างไร

  • การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เกี่ยวข้องกับกรมสรรพากร แต่จะเกี่ยวข้องกับกรมที่ดินและสำนักงานบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นๆที่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่ค่ะ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และสำนักงานเขตต่างๆ
  • องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสำนักงานเขตจะแจ้งการประเมินภาษีแก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีภายในเดือน กุมภาพันธ์ ของทุกปี
  • ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องชำระภาษีภายในเดือนเมษายน ของทุกปี
  • ชำระภาษีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่เช่น เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล, สำนักงานเขต เป็นต้น
  • ในกรณีที่ผู้เสียภาษีเห็นว่าการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ให้ผู้เสียภาษียื่นคำร้องเพื่อขอแก้ไขให้ถูกต้องได้ค่ะ

 

6. ตัวอย่างการคำนวณภาษี

  • วิธีการคำนวณคือ ราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง x อัตราภาษี (แต่ละประเภท)

ภาษีปี พ.ศ.2563 อาคารโรงงานและที่ดิน ราคาประเมิน 20 ล้านบาท 20,000,000 x 0.3% = 60,000 บาท

 

  • กรณีที่ได้รับยกเว้น วิธีการคำนวณคือ (ราคาประเมินที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง-มูลค่าได้รับยกเว้น) x อัตราภาษี (แต่ละประเภท) 

ภาษีปี พ.ศ.2563 บ้านพร้อมที่ดิน ราคาประเมิน 60 ล้านบาท ชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้รับยกเว้นประเมิณ 50 ล้านบาท ( 60,000,000 – 50,000,000 ) x 0.03% = 3,000 บาท

สามารถดูตัวอย่างการคำนวนภาษีอย่างละเอียดได้ที่บทความ 5 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับโรงงานและโกดังคลังสินค้า

 

7. ข้อควรรู้อื่นๆ ของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

  • กรณีที่ดินหลายแปลงที่มีอาณาเขตติดกันและเป็นเจ้าของเดียวกัน ให้คำนวณมูลค่าที่ดินทั้งหมดเป็นฐานภาษีเดียวค่ะ
  • กรณีที่ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีการใช้งานหลายประเภทในแปลงเดียว ให้คิดภาษีจากสัดส่วนการใช้งานจริง
  • ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยของบุคคลธรรมดา ที่ได้รับยกเว้น ประเมินไม่เกิน 50 ล้านบาท ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนะคะ
  • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างเพื่อการเกษตรของบุคคลธรรมดา ได้รับการยกเว้นภาษี 3 ปีแรกค่ะ
  • การบรรเทาภาษี

ใน 3 ปีแรก ของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในกรณีที่ผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีสูงกว่าภาษีที่ต้องเสียในปีก่อน ให้ผู้เสียภาษีเสียตามจำนวนเดิมก่อน เหลือภาษีเท่าใดให้เสียภาษีดังนี้คือ

  1. ปีที่ 1 ร้อยละ 25 ของภาษีที่เหลือ
  2. ปีที่ 2 ร้อยละ 50 ของภาษีที่เหลือ
  3. ปีที่ 3 ร้อยละ 75 ของภาษีที่เหลือ
  • สามารถผ่อนชำระภาษีได้ หากมียอดชำระเกิน 3000 บาทขึ้นไป และต้องทำหนังสือยื่นต่ออบต.หรือสำนักงานเขตนั้นๆ โดยสามารถแบ่งชำระภาษีได้ไม่เกิน 3 งวด งวดละเท่าๆกัน ดังนี้ 
  1. งวดที่ 1 ภายในเดือนเมษายน
  2. งวดที่ 2 ภายในเดือนพฤษภาคม
  3. งวดที่ 3 ภายในเดือนมิถุนายน

 

เรื่องของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอาจเป็นเรื่องใหม่สำหรับเรา แต่อีกไม่นานกฎหมายฉบับนี้ก็จะบังคับใช้แล้ว เพราะฉะนั้นรีบเตรียมพร้อมและศึกษาข้อมูลเอาไว้ก่อนตั้งแต่เนิ่น ๆ จะดีกว่าค่ะ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างตั้งอยู่เช่น เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล, สำนักงานเขต เป็นต้น

 

สามารถรับชมคลิปภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแบบเข้าใจง่ายได้ตามคลิปด้านล่างนี้ค่ะ

 

ท่านที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของกฎหมายฉบับนี้ได้ที่:

http://ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/030/T_0021.PDF

 

**UPDATE**

2 มิ.ย. 2563

ข่าวดีสำหรับท่านผู้ประกอบการและท่านที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกท่านค่ะ ครม. มีมติลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของปี 2563 ลงให้ 90% พร้อมเลื่อนจ่ายเป็นเดือนสิงหาคมค่ะ เพื่อเป็นการบรรเทาภาระจากผลกระทบจากโควิดให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการค่ะ 

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากลิงค์ด้านล่างนี้ค่ะ:

https://www.kaohoon.com/content/366881

 

 

Source: 

http://ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/030/T_0021.PDF

คู่มือชำระภาษีท้องถิ่น: ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

 

Visitors: 261,682